น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 23 ตุลาคม "วันปิยมหาราช"










น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 23 ตุลาคม "วันปิยมหาราช"
วันปิยะมหาราช ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันหยุดของราชการ ซึ่งจะทำให้ชาวไทย ได้มีโอกาสน้อมรำลึกและร่วมกันไปถวายบังคมหรือวางพวงมาลาแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าที่พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ซึ่งพระองค์ทรงมีพระเมตตา เป็นล้นพ้น และทรงทำสิ่งที่ทำให้ชาวไทยได้เป็นอิสระ ด้วยการสั่งให้มีการเลิกทาส ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"
ความหมายของวันปิยะมหาราช
วันปิยมหาราช หมายถึง วันที่ปวงชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานชีวิตใหม่ ให้อิสรภาพแด่ปวงชน โดยทรงประกาศเลิกทาส ทรงปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหาร ราชการแผ่นดินและอื่น ๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ผู้ทรงมี พระมหากรุณาธิคุณ เป็นอเนกประการ หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "เสด็จพ่อ ร.5"
วันปิยะมหาราชของประเทศไทย
วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุด และทำให้ชาวไทยได้ปลดปล่อยอิสระแรงงาน ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่ต่อประชาราษฎร์ คือ การประกาศเลิกทาสนั่นเอง ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
ประวัติวันปิยะมหาราช
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศสยามได้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการพัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯประกอบกับพระราชกรณียกิจที่ทำให้เกิดความผาสุข แก่ประชาชนซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุด และทำให้ชาวไทยได้ปลดปล่อยอิสระแรงงาน ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่ต่อประชาราษฎร์ คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 คนไทยทั้งประเทศต้องพบกับความเศร้าโศกครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวง ที่ทรงประชวรได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทำให้พสกนิกรชาวไทยต่าง เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น พร้อมประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรก โดยเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครื่องสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าของวันปิยะมหาราชหรือวันที่ 23 ตุลาคมของทุกๆปี
#เข้าถึงง่ายได้มาตรฐานบริการเท่าเทียม
#โครงการนิติวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
#โครงการให้ความรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน
#สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
#สนว
#CIFS
#CentralInstituteOfForensicScience
#กระทรวงยุติธรรม
#MINISTARYOFJUSTICE
#MOJ
#บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
#บริการประชาชน
#ตรวจพิสูจน์DNA
#ตรวจพิสูจน์สารเสพติดในเส้นผม
#ตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
#แชร์ได้แม่ไม่ว่า
Admin : Sarinpat W.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม