5 เทคนิค ลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้บริษัทอยู่รอด!


5 เทคนิค ลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้บริษัทอยู่รอด!

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยเช่นยุคปัจจุบัน บางบริษัทจำเป็นต้องปิดตัวลงเนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้เกิดอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมากมาย ส่งสัญญาณให้บริษัทที่กำลังประคองตัวอยู่ในขณะนี้ เริ่มมองหากลยุทธ์และวิธีการ ลดค่าใช้จ่าย เพื่อปรับสภาพคล่อง และประคองตัวต่อไปให้พ้นจากสภาวะวิกฤต

วันนี้มี 5 ขั้นตอนง่ายๆในการปรับลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร เพื่อพยุงทั้งเจ้าของกิจการและลูกจ้างให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนกว่าสถานการณ์บีบคั้นเช่นนี้จะผ่านพ้นไป

1. ลดการเบิกในรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

ข้อนี้เหมาะสำหรับบุคลากรในบริษัทที่รักการเอาเปรียบ ทานข้าว,ดูหนังกับสาวๆก็เขียนใบเบิกเป็นยอดเลี้ยงลูกค้า เดินทางไปประชุม,สัมมนาที่ต่างจังหวัดด้วยรถทัวร์ แต่เบิกเป็นค่าน้ำมันรถส่วนตัว เป็นต้น บุคลากรประเภทนี้ควรปรับปรุงตัว เพื่อมีส่วนร่วมในการปรับลดค่าใช้จ่ายของบริษัท จำไว้ว่าเขาอยู่ได้ คุณก็อยู่ได้ และหากเขาล่มเมื่อไหร่คุณก็จะต้องล่มด้วยเช่นกัน
ในช่วงเวลาแบบนี้ เจ้าของกิจการมักจะมีสายตาที่เฉียบคมเป็นพิเศษ ซึ่งหากคุณไม่ปรับปรุงตัว คุณจะกลายเป็นบุคคลประเภทแรกที่ถูกพิจารณาตัดออกจากองค์กร คุณเองคงไม่อยากจะตกงานหรอกจริงไหม
ยิ่งเดี๋ยวนี้งานไม่ได้หาได้ง่ายๆ ด้วยแล้ว จะทำให้เกิดความลำบากเอาได้นะ การปรับตัวให้เข้ากับองค์กรให้ได้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณมีงานและเงินเดือนที่มั่นคงต่อไปนั่นเอง

2. เคลียร์สินค้าค้างสต๊อก

ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ มีอะไรค้างอยู่ในสต๊อกก็ควรขนออกมาระบายด้วยการจัดลดราคา โดยเลือกใช้กลยุทธ์ที่ดึงดูด แต่ไม่กินทุน ควรบวกค่าพนักงาน ค่าสถานที่ก่อนตัดสินใจตั้งส่วนลดทุกครั้ง การโละสินค้าเก่าในครั้งนี้จะช่วยให้คุณมีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อซื้อสินค้าใหม่เข้าคลัง หรืออาจจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับองค์กร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่าคิดว่าการลดราคาจะทำให้ขาดทุน แต่ควรคิดว่าหากขายไม่ได้คุณจะไม่ได้อะไรเลยแม้แต่เงินทุนกลับคืนมา

ลดค่าใช้จ่าย
ลดค่าใช้จ่าย

3. ลดรายจ่ายจุกจิกในสำนักงาน

ปากกาเบิกมาทีละโหล ไม่กี่วันก็หายเกลี้ยง เบิกแล้วเบิกอีกราวกับได้ฟรี ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ไม่ต่างจากพนักงานร่วมมือกันเลื่อนเสาเรือนทางอ้อมหรอกค่ะ มีวิธีปรับลดค่าใช้จ่ายตั้งมากมายที่คุณสามารถทำได้ โดยไม่กระทบกับเงินเดือนของคุณ เริ่มต้นจากปิดไฟปิดแอร์ทุกครั้งในช่วงเวลาพักกลางวัน โดยกำหนดเวลาให้ชัดเจน อาจจะเริ่มจากคนที่มาถึงออฟฟิศก่อน ให้งดใช้ไฟฟ้าจนกว่าจะถึงเวลาเริ่มงาน
เครื่องเขียน ให้แต่ละคนมีลิมิตขั้นต่ำในการเบิกต่อสัปดาห์กี่ครั้งก็ว่ากันไป กระดาษ หากเป็นเอกสารไม่สำคัญ ก็ใช้กระดาษว่างหน้าหลังก็ยังได้ ใช้ครบก็อย่าเพิ่งย่อยทิ้ง เก็บไว้ชั่งกิโลขาย หรือห่อผ้าอนามัยในห้องน้ำหญิงก็ยังโอเค  เห็นไหมว่าสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายทีเดียวและยังลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานไปได้มากอีกด้วย อีกทั้งการลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานยิ่งลดมากเท่าไหร่ คุณเองก็อาจจะมีโอกาสได้รับโบนัสมากเท่านั้นด้วยนะ

4. ปรับลดโอทีและควบคุมค่าใช้จ่ายพิเศษ

ที่ไม่กระทบกับตัวพนักงานมากนัก เพราะจะส่งผลให้ทุกคนเริ่มเสียขวัญ ควรชี้แจงกับพวกเขาให้เข้าใจถึงวิกฤติการในครั้งนี้ ค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆเช่น ค่าสื่อสาร ให้เปลี่ยนไปใช้โปรโมชั่นที่คุ้มกว่า ถูกกว่า เช่น ค่าโทรศัพท์ในสำนักงานต่อเดือนค่อนข้างมหาศาล ก็ใช้เป็นมือถือค่ายต่างๆพร้อมซิมราคาถูกที่จ่ายรายเดือนไม่กี่บาท มาให้พนักงานใช้โทรออกแทนโทรศัพท์ปกติ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ควรมีการตรวจสอบที่เข้มงวด ขอหลักฐานที่ชัดเจนก่อนเบิกทุกครั้ง บางทีใบเสร็จที่เบิก อาจถูกเขียนขึ้นมาเอง ดังนั้นคุณควรมีการตรวจสอบที่ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ให้มากที่สุด

5. งดจ้างพนักงานใหม่

ทันทีที่มีคนลาออก คุณต้องไม่จ้างพนักงานเพิ่ม แต่ให้เอางานของคนๆนั้นมากระจายให้กับคนที่เหลือ โดยให้ค่าตอบแทนพิเศษแก่พวกเขา เพื่อเป็นแรงจูงใจ เพราะถ้าคำนวณดูแล้ว ค่าตอบแทนพิเศษรายบุคคลในการรับหน้าที่งานเพิ่ม ค่อนข้างมีอัตราราคาที่ต่ำกว่าเงินเดือนพนักงานคนใหม่เสียอีก อีกอย่างหากพนักงานใหม่ที่รับเข้ามาทำงานได้ไม่ดีและทำงานได้น้อยแต่ต้องจ่ายเงินเดือนตามปกติ ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายดูสูงอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นยอมเพิ่มเงินพิเศษให้กับพนักงานเก่าสักนิดก็ไม่เสียหายหรอกเนอะ
วิธีสุดท้ายที่ไม่อยากนับรวมไปกับ 5 วิธีการปรับลดค่าจ่ายในขั้นต้นก็คือ วิธีปรับลดจำนวนพนักงาน หรือเทกโอเวอร์ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ อยากให้เลือกใช้เป็นวิธีสุดท้ายใช่ช่วงเวลาที่ไม่มีทางเลือกจริงๆมากกว่า หวังว่าแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้คุณประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นสภาวะวิกฤติในครั้งนี้ได้อย่างราบรื่น และไม่จำเป็นที่จะต้องยกเลิกกิจการในที่สุด
ซึ่งในปัจจุบันมีพนักงานที่ว่างงานเนื่องจากตกงานมากมาย เข้าใจว่าทางบริษัทเองก็อยากจะลดค่าใช้จ่ายลง แต่ถ้าไม่หนักหนาเกินไป ก็ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกันสักนิดดีกว่านะคะ อาจจะปรับลดเงินเดือนลงนิดหน่อยแต่ไม่ถึงกับเลิกจ้าง ก็ยังดีกว่า ถึงอย่างไรพนักงานของเราก็จะได้มีงานทำ ลองคิดถึงบริษัทของเราดู หากไม่ได้พนักงานเหล่านี้ก็อาจเดินมาไม่ถึงจุดนี้ก็ได้นะ

































































ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม