'บ้านลอยน้ำ' ทางเลือกทางรอด ลดวิกฤตน้ำท่วม!
'บ้านลอยน้ำ' ทางเลือกทางรอด ลดวิกฤตน้ำท่วม!
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่วิกฤติในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หลายชีวิต หลายครอบครัวต้องไร้ที่อยู่อาศัย... ดำรงชีวิตท่ามกลางความทุกข์ยาก!!
แนวคิดการสร้าง บ้านลอยน้ำ นับเป็นทางออกทางหนึ่งที่อาจช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของประชาชนในช่วงที่เกิด วิกฤติน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จฯ มายังกรมโยธาธิการและผังเมือง ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 เพื่อทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัด ติวงศ์ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการ “แบบบ้านเพื่อประชาชน” ของกรมฯ และพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ”
กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวมาปฏิบัติ โดยออกแบบบ้านลอยน้ำขึ้น ซึ่งใช้แนวคิดจากบ้านลอยน้ำท่าขนอน และเรือนแพของชาวบ้านในอดีต นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
ถิรวีร์ เทพไชย สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง หนึ่งในผู้ร่วมออกแบบบ้านลอยน้ำ อธิบายลักษณะของบ้านให้ฟังว่า บ้านลอยน้ำที่ออกแบบมานั้นมีขนาดพื้นที่ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก อยู่ได้ประมาณ 3-4 คน เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกันได้ โดยใช้สะพานทางเชื่อมพาดระหว่างชานรอบ ตัวบ้าน
การรองรับน้ำหนักของบ้านลอยน้ำที่ออกแบบมานั้น สามารถรองรับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยระดับน้ำที่บ้านลอยน้ำจะรองรับได้ คือ ความสูงที่ประมาณ 2.4 เมตร
“โครงสร้างของบ้านไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากบ้านปกติทั่วไปเพียงแต่วัสดุที่ ใช้ต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา โดยตัวบ้านลงเสาเข็ม 4 ต้น เพื่อยึดตัวบ้าน ส่วนงานผนังใช้เป็นไม้ฝาเฌอร่าแทนการก่อผนังด้วยอิฐ หลังคาใช้เป็นกระเบื้องลอนคู่ มาที่ พื้นใช้เป็นแผ่นวีว่าบอร์ด ซึ่งเป็นแผ่นไม้สำเร็จรูป มีคุณสมบัติทนฝน ทนแดด ทนความชื้นได้ดี แต่ถ้ามีไม้ที่เป็นของเก่าเก็บไว้ก็ใช้ทำพื้นแทนได้ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นไปได้อีก”
ในส่วนของห้องสุขา จะใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ อีเอ็ม ติดตั้งอยู่ใต้น้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฏิกูล ในขณะที่ระบบไฟฟ้าจะเดินไฟฟ้าตามปกติ มีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย โดยการติดตั้งสายไฟฟ้าเข้าบ้านจะยกเสาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มความสูงให้กับสายไฟ และในส่วนของสายดินจะขดสายเพื่อเพิ่มความยาวเผื่อไว้ในช่วงที่น้ำท่วมประมาณ 2.50-3 เมตร เพราะระดับน้ำสูงสุดที่ตัวบ้านรองรับได้อยู่ที่ 2.40 เมตร ด้านหน้าบ้านทางเข้าจะเป็นบันไดไม้มีราวให้จับ
สำหรับฐานด้านล่าง เนื่องจากเป็นบ้านที่สามารถลอยน้ำได้ จึงต้องเลือกใช้วัสดุที่ลอยน้ำได้เป็นฐานพื้นด้านล่างสุดของพื้นที่ติดกับ ดิน จึงเลือกใช้เป็นถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยนำมาทาสีกันสนิมก่อนนำมาใช้จะช่วยเพิ่มความทนทานในการใช้งานได้นานยิ่ง ขึ้น จำนวน 80 ลูก หรืออาจใช้ทุ่นลอยอย่างอื่นที่สามารถรองรับน้ำหนักและมีปริมาตรใกล้เคียงกัน แทนได้ เช่น ถัง พีวีซี หรือจะเป็นถังไฟเบอร์กลาส หากต้องการความทนทานมากขึ้นโดยระหว่างถังทุ่นลอยที่มีการต่อชนกันจะเชื่อม โดยรอบ ตลอดแนวสัมผัสขอบถัง
ถังหรือทุ่นที่เป็นฐานอยู่ด้านล่างของบ้าน จะมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 5 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษา หากต้องการเปลี่ยนสามารถยกบ้านลอยขึ้นแล้วเปลี่ยนทุ่นลอยอันใหม่ได้
บ้านหลังนี้จะอยู่นิ่งไม่ลอยไปตามน้ำเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น ถิรวีร์ กล่าวว่า “เนื่องจากด้านนอกตัวบ้านจะลงเสาลูกลอยไว้ 4 มุม เพื่อยึดบ้านไม่ให้เคลื่อนที่หรือลอยไปตามกระแสน้ำเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น ด้านความคงทนเทียบเท่ากับบ้านทั่วไป แต่เนื่องจากมีวัสดุที่เป็นเหล็กที่ต้องอยู่ในน้ำ ก็จะต้องเอาใจใส่มากกว่าบ้านปูนเล็กน้อย โดยหมั่นตรวจดูโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเหล็ก เช่น ตามรูรอยเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะมี โอกาสที่น้ำจะไปขังทำให้เกิด เป็นสนิมขึ้นได้”
เมื่ออยู่ในสภาวการณ์ปกติบ้านจะตั้งอยู่บนโครงสร้างเหล็ก โดยมีผนังปิดฐานโดยรอบเอาไว้ ซึ่งผนังดังกล่าวสามารถเปิด-ปิด ได้ เพื่อจะได้สามารถตรวจสอบสภาพถังที่ใช้เป็นทุ่นลอยด้านล่างได้
การสร้างบ้านลอยน้ำในลักษณะอย่างนี้ ไม่เหมาะกับสถานที่ที่น้ำท่วมแบบมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว หรือในสถานที่ที่น้ำหลาก แต่จะเหมาะกับสภาพพื้นที่ที่น้ำท่วมเอ่อล้นขึ้นมา หรือตามริมแม่น้ำ
ในสภาวะปกติทั่วไปตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมเกิดขึ้นบ้านก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำได้ โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักด้านนอกตัวบ้านทั้ง 4 มุม เพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ และเมื่อระดับน้ำลดลงตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม
การออกแบบลักษณะของบ้าน ทั้งภายในและภายนอกของบ้าน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ โดยจะสร้างใช้พื้นที่เต็ม จะสร้างห้องเล็กลงหรือใหญ่ขึ้นก็สามารถทำได้ แต่ในส่วนฐานด้านล่างของบ้าน ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนจากแบบที่ให้ไว้ จะต้องคำนึงถึงวัสดุที่ใช้แทนว่าจะสามารถรับน้ำหนักบ้านได้ โดยคำนึงถึงน้ำหนักของตัวบ้านและน้ำหนักของสิ่งของภายในด้วย
สิ่งที่ต้องพึงระวังและไม่ควรประมาท คือ พยายามจัดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยเฉลี่ยให้แต่ละ พื้นที่ ในบริเวณบ้านทั้งหมดรับน้ำหนักเท่า ๆ กัน มุมใดมุมหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่งของบ้านจะได้ไม่รับน้ำหนักอยู่ด้านเดียว ส่วนการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านลอยน้ำนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือ เดินตามปกติ ไม่ต้องเดินเบา ๆ หรือลงเท้าค่อย ๆ
สำหรับค่าก่อสร้างบ้านลอยน้ำในกรณีที่ดำเนินการเองมีราคาหลังละประมาณ 719,000 บาท หากจ้างเหมา ราคาจะอยู่ที่ประมาณหลังละ 915,000 บาท เนื่องจากมีค่าดำเนินการเพิ่มขึ้นมา โดยบ้านลอยน้ำที่ออกแบบมานั้น สามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ซึ่งสามารถลดการใช้วัสดุที่ คิดว่าไม่จำเป็นออกไปได้ เช่น เชิงชาย ฝ้า หรือผนังปิดฐาน บ้าน เพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้างลงไป
รวมทั้งสามารถนำมาดัดแปลง ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ที่พักชั่วคราวให้กับสัตว์เลี้ยง หรือดัดแปลงเป็นห้องสุขาลอยน้ำหรือห้องอาบน้ำลอยน้ำชั่วคราวได้
ถิรวีร์ เทพไชย สถาปนิกชำนาญการ ทิ้งท้ายเพิ่มเติมว่า หากผู้ใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักสถาปัตยกรรม เบอร์โทร.0-2299-4857 ยินดีให้คำปรึกษา โดยอาจจะช่วยให้คำปรึกษาในส่วนของวัสดุที่ใช้เพื่อให้ราคาต้นทุนลดลงมาได้
แบบบ้านลอยน้ำนี้ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องอยู่ อาศัยในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้ โดยอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมและสอด คล้องตามความต้องการ.
http://www.dailynews.co.th
https://groups.google.com/g/thainamgroup/c/OPN_Wni06kU?pli=1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น