Credit : AFP Photo / Luis Robayo / AFP Credit : https://goo.gl/k71CQm
AK-47 หรือ Kalashnikov คือ อาวุธปืนที่ใช้ง่ายและราคาถูก นิยมใช้งานกันมากที่สุดในโลก
AK-47 คือ อนุสรณ์ความทรงจำผลงานชิ้นสุดท้ายของ Mikhail Kalashnikov บิดาของปืน AK-47 ที่เสียชีวิตในวัย 94 ปีที่รัสเซีย
1. Mikhail Kalashnikov คือ ผู้การรถถังคันหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลายมาเป็นผู้ออกแบบอาวุธปืน เพราะได้รับบาดเจ็บที่ไหล่ช่วงทำสงครามที่ Bryansk ในช่วงที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในปี 1942 เขาได้รับยินเสียงบ่นจากเพื่อนทหารที่บาดเจ็บจากการรบ เรื่องเกี่ยวกับปืนไรเฟิลจู่โจมของรัสเซียหลายเรื่องมาก จนทำให้เขาตัดสินใจที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงพวกมัน Mikhail Kalashnikov มียศจ่าสิบเอกในช่วงที่ออกแบบปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47
2. ปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov กระบอกแรกผลิตขึ้นในปี 1947 มาจาก Avtomat Kalashnikova = Kalashnikov's Automatic Gun ในภาษา Russian: Автома́т Кала́шникова จึงเป็นที่มาของชื่อ AK-47 ปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ได้รับรางวัล Stalin Prize และ Order of the Red Star ปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 กลายเป็นอาวุธประจำหน่วยรบกองทัพโซเวียตรัสเซียตั้งแต่ปี 1949
Mikhail Kalashnikov ได้รับเพียงเงินเดือนกับรางวัลเท่านั้นในการคิดค้นปืน AK-47 ทำให้เขาหวังว่าจะทำเงินได้จากผู้ผลิตเหล้าวอดก้า 2 รายที่ใช้ชื่อเหล้าวอดก้า Kalashnikov ในช่วงบั้นปลายชีวิต Kalashnikov ทำเงินได้จำนวนมากจากการไปปรากฎตัวในงานแสดงอาวุธรอบโลก Mikhail Kalashnikov. (RIA Novosti / Ruslan Krivobok) / RIA Novos
3. ความทนถึก ต้นทุนการผลิตต่ำ ราคาถูก พร้อมที่จะใช้งานและใช้งานง่าย คือ คุณสมบัติสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้กับปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ไปทั่วโลก ในช่วงผลิตและทดสอบปืนนี้ Kalashnikov ได้ใช้งานมันอย่างหนักทุกรูปแบบทั้งในทรายหรือในน้ำ ทำให้นักออกแบบยอมรับว่ามันคือ สัญลักษณ์อัจฉริยะในการสร้างสรรค์ของคนรัสเซีย
4. ปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ได้รับการบันทึกใน Guinness Book of Records ว่า เป็นอาวุธปืนที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในโลก คาดว่ามีปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ราว 100 ล้านกระบอกที่ยังมีการใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้ เฉลี่ยในกลุ่มคน 60 คนจะต้องมีปืน AK-47 อยู่ 1 กระบอก(ประมาณการประชากรโลก 6,000 ล้านคน) ทั้งยังสามารถสอนให้ผู้ใช้งานมือใหม่ ให้ถอดทำความสะอาดและประกอบได้ภายใน 1 ชั่วโมง
5. กองทัพกับหน่วยรบพิเศษใน 106 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่อัฟกานิสถาน ถึง ซิมบับเว ทุกวันนี้ยังใช้งานปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 และมี 50 ประเทศที่ประกาศว่าปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 เป็นปืนประจำกองทัพ
6. รัสเซียไม่เพียงแต่แจกจ่ายปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov ไปทั่วโลกในยุคการส่งออกปฏิวัติช่วงสงครามเย็น ในช่วงเป็นคอมมิวนิสต์ ทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดค้นประดิษฐ์ได้จะเป็นของรัฐทั้งหมด แม้ว่าจะมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรก็เป็นแต่การยอมรับผลงานคนคิดค้น กับป้องกันประเทศอื่นมาฉกฉวยหากำไรจากสิทธิบัตรของโซเวียตรัสเซียในยุคนั้น
ทั้งรัสเซียยังอนุญาตให้ชาติต่าง ๆ ทำการผลิตปืนรุ่นนี้ได้เอง ซึ่งมีประเทศมากกว่า 30 ประเทศ เช่น จีน อิสราเอล อินเดีย อียิปต์ และ ไนจีเรีย โดยจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนรัสเซียมีปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 คงค้างในคลังแสงมากที่สูดในโลก
ในปี 2006 ประธานาธิบดี Hugo Chavez เวเนซูเอลา ได้ส่งออกปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ครั้งแรกจำนวน 100,000 กระบอก ในปี 2012 จึงได้ประกาศว่ามีการตั้งโรงงานผลิตปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ในเขต Western Hemisphere ของเวเนซูเอลา
7. เชื่อกันว่าปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ฆ่าคนตายทั่วโลกมากกว่าปืนใหญ่ การทิ้งระเบิด หรือขีปนาวุธอื่น ๆ ประมาณการว่ามีผู้คนราว 250,000 คนถูกยิงตายด้วยปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikovs ในทุกปี
8. ในปี 2007 โดยส่วนตัวแล้ว Mikhail Kalashnikov บอกว่าไม่เคยนึกตำหนิตนเอง เกี่ยวกับเลือดและความตายของผู้คนที่เกิดจากปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47
“ ผมนอนหลับสบายดี มันเป็นเรื่องของพวกนักการเมือง ที่สมควรจะถูกประณามมากกว่า เพราะต่างตกลงกันไม่ได้และนำไปสู่ความรุนแรง (ต่างพาชาติไปสู่สงคราม)
ผมสร้างมันขึ้นมาเพื่อปกป้องมาตุภูมิ ผมไม่เคยเสียใจ หรือต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดในการที่นักการเมืองใช้พวกมัน
ผมภูมิใจกับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ แต่ผมเศร้าใจ ถ้ามันถูกใช้โดยผู้ก่อการร้าย
ผมอยากที่จะสร้างเครื่องจักรที่ชาวบ้านสามารถใช้งานได้ และช่วยชาวนาในการทำงานของพวกเขา ตัวอย่างเช่น เครื่องตัดหญ้า "
อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ Kofi Annan ยกปืนไรเฟิลจู่โจม AK47 ที่ดัดแปลงเป็นกีตาร์ในศูนย์ Vienna's U.N วันที่ 11 กันยายน 2007 (Reuters / Herwig Prammer)
9. ราคาถูกจัดว่าเป็นข้อดีที่สำคัญที่สุดของปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ราคาเฉลี่ยของปืนไรเฟิลจู่โจมรุ่นนี้ราว 534 เหรียญสหรัฐ(18,690.-บาท) ในปี 2005 ตามข้อมูล Phillip Killicoat นักเศรษฐศาสตร์ Oxford University และคาดว่าราคาปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ในกลุ่มประเทศแอฟริกา มีราคาถูกกว่าราคาเฉลี่ยของปืนทั่วไป 200 เหรียญสหรัฐ (7,000.-บาท) (1 เหรียญสหรัฐเทียบเท่า 35.-บาท) ตลาดมืดในไทยราคาปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 มือสองราว ๆ 10,000-15,000.-บาท
10. Osama bin Laden มักจะมีปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov เคียงข้างกายในช่วงเผยแพร่ภาพปลุกระดมบนวีดีโอ และตามรายงานข่าวบางแห่งได้ระบุว่า สหรัฐอเมริกามอบปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 กระบอกแรก ให้กับ Osama bin Laden ผู้เริ่มก่อตั้งกลุ่ม Al Qaeda ในการไปรบกับโซเวียต ที่อัฟกานิสถาน พร้อมกับจัดส่งปืน AK-47 นับล้านกระบอกพร้อมกับขีปนาวุธให้กับกองกำลังติดอาวุธต่อต้านโซเวียต
Osama Bin Laden (Reuters / Hamid Mir / Editor / Ausaf Newspaper for Daily Dawn)
11. ในช่วงสงครามเวียตนาม ทหารสหรัฐอเมริกาหลายคนต่างทิ้งปืนไรเฟิลจู่โจม M16 แล้วหยิบฉวยปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov ที่เชื่อมั่นว่าใช้งานได้ดีกว่า M16 จากศพข้าศึกเวียตกงมาใช้งานแทน รวมทั้งในอัฟกานิสถาน อิรัค ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นกับทรายมากในปืน M16 แม้กระทั่งในทุกวันนี้ นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาบางคนยังพกพาปืน AK-47 เป็นอาวุธประจำกาย
ในปี 2007 โรมาเนียขายปืน AK-47 แบบกึ่งอัตโนมัติให้สหรัฐฯ ในราคาเพียง 350 เหรียญถูกกว่าปืนอื่น ๆ ที่ตั้งราคาขาอย 1,395 เหรียญ
5 ธันวาคม 2007 วัยรุ่น 19 ปีได้ใช้ปืน AK-47 ระเบิดกระสุนในใส่ในศูนย์การค้า Nebraska รัฐ Omaha ฆ่าคนตายไป 8 คนและบาดเจ็บมากกว่า 3 คน ก่อนจะยิงตัวตาย
12. ปืน AK-47 เป็นที่ยอดนิยมในแอฟริกาหลายชาติ ก่อนวันคริสต์มาส ในปี 1989 Charles Taylor ได้ยึดเมืองมอนโรเวีย ในไลบีเรีย ด้วยทหารกองโจรจำนวน 100 คนที่ติดอาวุธปืน AK-47 และครองอำนาจนานถึง 6 ปี ด้วยการเกณฑ์ทหารเด็กและเยาวชนให้ติดอาวุธปืน AK-47 คุ้มครองพวกมัน สุดท้ายตอนนี้ มันติดคุกข้อหาความผิดอาชญากรรมสงคราม
Ousmane Sangare ทหารพลร่มมาลี วัย 26 ปีถือปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ใน Gao ตอนเหนือของ Bamako (AFP Photo / Joel Saget)
ปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 อยู่บนธงชาติโมแซมบิก
อาร์มซิมบับเว อาร์มเบอร์กิน่า ฟาโซ(1984-97) อาร์มติมอร์ตะวันออก ปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov บนธงชาติกลุ่มก่อการร้ายฮิซบุลลอฮ์ ในเลบานอน
13. พ่อแม่บางคนในแอฟริกาตั้งชื่อลูกตนเองว่า Kalash ซึ่งเป็นชื่อเล่นอีกชื่อของปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov ตามรายงานข่าวโทรทัศน์ Russia Channel One
14. Andrey Kirilenko นักบาสเกตบอลชั้นนำของรัสเซีย เกิดในเมือง Izhevsk สถานที่ตั้งโรงงานผลิตปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov ได้หมายเลขประจำตัวเสื้อเลขที่ 47 ใน NBA และมีชื่อเล่นว่า AK-47
15. อียิปต์ได้บอกถึงความเป็นอมตะของปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์ขนาดยักษ์รูปปืน ปืน Kalashnikov พร้อมกับดาบปลายปืน ที่คาบสมุทรซีนาย
16. ในปี 2004-2005 ปืน AK-47 มากกว่า 350,000 กระบอกพร้อมอาวุธอื่น ๆ ถูกนำออกจากประเทศบอสเนียและประเทศเซอร์เบีย ตามมติ NATO กับกองกำลังรักษาสันติภาพยุโรป แล้วนำไปส่งมอบให้กองกำลังติดอาวุธในอีรัคที่รับจ้างกับ Pantagon แต่ปืน AK-47 กว่า 110,000 กระบอกพร้อมกระสุน 80,000 นัดสูญหายไป ในปี 2007 กองทัพอีรัคต่างใช้ปืน AK-47 ที่สหรัฐฯ สั่งซื้อจากประเทศจอร์แดน แต่ช่วงหลังสหรัฐเริ่มแจกจ่ายปืน M-16 ให้ประจำกายแทน เพราะปรากฏว่าปืน AK-47 จำนวนมากตกอยู่ในมือฝ่ายต่อต้าน/ISIS
ปืนไรเฟิลจู่โจม Kalashnikov เคลือบทองคำ คือ สมบัติสะสมส่วนตัวของ Saddam Hussein อดีตผู้นำอีรัค ที่ถูกทหารสหรัฐฯ ยีดได้
17. เหรียญที่ภาพ Mikhail Kalashnikov กับอาวุธปืนไม่ใช่มีแต่ในรัสเซีย แม้แต่ประเทศที่รักสงบอย่างนิวซีแลนด์ ยังมีภาพปืนไรเฟิลจู่โจมรุ่นนี้ครบรอบ 60 ปีในเหรียญรุ่นพิเศษ
18. หนังสือพิมพ์ Liberation ของฝรั่งเศสได้ขนานนามปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 คือ สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 20 เหนือกว่าระเบิดปรมาณูกับกระสวยอวกาศ
19. การผสมเหล้าวอดก้า เหล้าหวาน Absinth มะนาว อบเชย และน้ำตาล เป็นเหล้าผสมชื่อ Kalashnikov และยังมีเหล้าวอดก้าชื่อ Kalashnikov ที่บรรจุขายในขวดคล้ายปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 ตั้งแต่ปี 2004
20. Cesar Lopez ศิลปินชาวโคลัมเบีย ได้นำปืนไรเฟิลจู่โจม AK-47 จำนวน 12 กระบอกมาประดิษฐ์ให้เป็นกีตาร์ แล้วมอบให้เป็นของขวัญชิ้นหนึ่งให้กับ Kofi Annan อดีตเลขาธิการสหประชาชาติในปี 2007
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/WgzchK https://goo.gl/iZHP24 https://goo.gl/9sBrBZ
ปืน AK-47 เมืองไทยเรียก อาก้า น่าจะมาจาก ภาษารัสเซีย A= ah K= kah
Credit : หมายเลข 19 https://pantip.com/topic/31576364/comment5
ค้างคาใจคับ ทำไมคนไทยถึงเรียกปืนตระกูล AK ว่า"อาก้า"
ภาษาฝรั่งเศส A= อา K= กา เพราะบางท่านว่าน่าจะมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งครั้งหนึ่งเวียตนามเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน และช่วงหนึ่งเวียตนามรับการสนับสนุนอาวุธจากโซเวียตรัสเซีย การออกเสียงก็คล้ายเคียงกัน
http://oknation.nationtv.tv/blog/ravio/2017/09/24/entry-1 |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น