การอธิบายปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาจากแผนที่อากาศ โดย นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล (12 ตุลาคม 2562 )

 

Contents:

  1. ความกดอากาศและการเกิดลม
    1. Gradient Wind ที่เป็นสาเหตุของพายุหมุน
    2. การแบ่งประเภทของพายุหมุนตามความเร็วลม
    3. สรุปการแบ่งประเภทของลม
    4. สัญญลักษณ์ในแผนที่อากาศ
    5. Wind System
    6. Local Wind System
  2. อธิบายปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาจากแผนที่อากาศตั้งแต่ 15 กันยายน เป็นต้นไป
    1. วันที่ 15 กย.62
    2. วันที่ 20 กย.62
    3. วันที่ 25 กย.62 ฤดูหนาวหลงฤดู PM 2.5 กลับมาที่ กทม.และปริมณฑล
    4. วันที่ 30 กย.62 ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมหมดไป ฝุ่น กทม.ดีขึ้น ภาคใต้หมอกควันลดลงจากร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน
    5. วันที่ 5 ตค.62
    6. วันที่ 10 ตค.62 hagibis ก่อ
    7. วันที่ 12 ตค.62 ไต้ฝุ่น hagibis ขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น
    8. วันที่ 13 ตค.62 ไต้ฝุ่น hagabis ออกจากญี่ป่น โดยอ่อนตัวเป็นพายุโซนร้อน
    9. วันที่ 30 ตค.62 พายุโซนร้อน Matmo เข้าเวียดนาม
    10. ช่วงเดือน มค - กพ.63. จุด Hot spot ประเทศไทยและเพื่อนบ้าน ส่งผลต่อ PM 2.5

ความกดอากาศ

ความกดอากาศ คือ แรงที่กระทำต่อหน่วนพื้นที่ ซึ่งมีหน่วยวัดต่างๆขึ้นกับว่าจะใช้ระบบไหนวัด หน่วยวัดที่นิยมใช้คือหน่วย SI แรงกดอากาศ จึงมีหน่วนเป็น 1 นิวตัน ต่อ ตารางเมตร หรือเรียกว่า 1 ปาสคาล (Pascal) ตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศศ โดย 1 บรรยากาศ (Atmosherr) นั้นจะมีต่าเท่ากับ 101325 Pascal (หรือ 1.01325 x 105 Pascal ) หรือ เท่ากับ 1,013.25 เฮกโตพาสคาล (hPa) โดย 1 hPa = 100 Pa ค่าหน่วยในแผนที่อากาศ ใช้หน่วยเป็น hPa สำหรับจุดตัดในการแบ่งความกดอากาศนั้น แบ่งได้เป็น
  1. 1020 hPa ความกดอากาศสูง อากาศหนาว* ใช้สัญญลักษณ์ H สีเขียว
  2. 1015 hPa ความกดอากาศสูง อากาศเย็น * ใช้สัญญลักษณ์ H สีเขียว
  3. 1013 hPa ความกดอากาศปกติ 1 บรรยากาศ (atm)
  4. 1010 hPa ความกดอากาศต่ำ * ใช้สัญญลักษณ์ L สีแดง
หมายเหตุ
  1. * ความหนาวเย็นนอกจากจะขึ้นกับความกดอากาศ ยังขึ้นกับความชื้นและความเร็วลมด้วย
  2. เมื่อได้ความกดอากาศของแต่ละจุดแล้ว ตำแหน่งใกล้เคียงที่มีความกดอากาศเท่ากัน จะลากเส้นติดต่อกัน เส้นดังกล่าวเรียกว่าเส้น isobar โดยแต่ละ Isobar จะมีความกดอากาศแตกต่างกัน 2 hPa
  3. ระหว่าง isobar 2 เส้น จะมีแรงกระทำต่อกัน เรียกว่า Horizontal Pressure Gradient Force (PH) ซึ่งแรง = ความแตกต่างระหว่างความกดอากาศ หารด้วย ระยะทางระหว่างเส้น isobar นั่นคือ ถ้า ระยะห่างระหว่างเส้น isobar มาก แรงจะน้อย ถ้าระยะทางระหว่างเส้น isobar น้อยแรงจะมาก PH จะมีแนวแรงชี้จากความกดอากาศสูงไปยังความกดอากาศต่ำ
  4. เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง จะมีแรงอีกแรงเกิดขึ้นเรียกว่า Corriolis Forece (C) หรือแรงเฉ โดยแรงเฉจะทำมุมต่างๆกันกับ PH โดยเมื่อเข้าสู่จุดสมดุล คือ PH = C แล้ว แรงทั้ง 2 จะอยู่ตรงกันข้ามกันและมีแรงเท่ากัน ทำให้อากาศเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วคงที่ขนานกับเส้น isobar ลมนี้เรียกว่า Geostropic Wind เป็นลมบนที่พัดที่ระดับความสูง 1 กม.ขึ้นไปจากพื่นดิน ที่ไม่มีแรงเสียดทานจากพื้นผิวโลก



    ลมในระดับสูงมากจากพื่นดิน ความกดอากาศ 850 hPa ของวันที่ 14 ตค 62 เป็นช่วงเปลี่ยนจากหน้าฝนเป็นหน้าหนาว ทิศทางลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วยรูปถัดไป เป็นลมในระดับความสูงปานกลางที่ ความกดอากาศ 925 hPa ของวันเดียกัน ลมพัดจากทิศตะวันออกไปยังตะวันตก ส่วนรูปถัดไปเป็นแผนที่อากาศในระดับพื้นดินในวันเดียวกัน ด้านบนขวามือสุดเหนือประเทศญี่ปุ่น เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำของพายุไต้ฝุ่น hagibis ที่มีกำลังแรงในวันที่ 12 แต่อ่อนกำลังลงในวันที่ 14 ตค 62


  5. Gradient wind ที่เป็นสาเหตุของลมพายุหมุน เกิดจากมี 3 แรงเข้ามาเกี่ยวข้องจนทำให้เกิดพายุหมุนได้แก่
    1. Pressure Gradient Force (PH) เป็นแรงที่เกิดความแตกต่างของความกดอากาศ ทิศทางของแรง จากจุดที่มีความกดอากาศสูงไปยังจุดที่มีความกดอากาศต่ำ
    2. Coriolis Force (C) หรือ แรงเฉ เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง โดยในขั้วโลกเหนือจะเฉไปทางขวา แนวแรงจะชี้ไปทิศตรงข้ามกับ Pressure Gradient force
    3. แรงหนีศูนย์กลาง (FC)
    4. เกิดจากการเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยแนวแรงจะชี้ออกจากศูนย์กลางเสมอ


    ในกรณีที่ศูนย์กลาง เป็นความกดอากาศต่ำ ทั้ง 3 แรงจะทำให้เกิดการการหมุนของลม โดยมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ในซีกโลกเหนือ และตามเข็มนาฬิกาทางซีกโลกใต้ โดยความแรงของลมขึ้นกับความแตกต่างของความกดอากาศ Horizontal Gradient Pressure (PH) กับระยะห่างระหว่างเส้น isobar 2 เส้น จากรูปในวันที่ 12 ตุลาคม 2562 ที่ศูนย์กลางมีความกดอากาศ 996 hPa ส่วนที่ขอบนอกความกดอากาศเท่ากับ 1010 hPa โดยความเร็วสูงสุดที่ศูนย์กลางเท่ากับ 85 Knot (น๊อต/ชั่วโมง). เนื่องจากพัดผ่านมหาสมุทรไม่มีสิ่งกีดขวางหรือมีแรงเสียดต่ำ จะเคลื่อนที่ได้เร็ว โดยเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ ขึ้นฝั่งที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเคลื่อนเข้าด้วยความเร็ว 13 น๊อต/ชม
  6. รัศมีของพายุหมุน hagibis กว้างมากขึ้น บริเวณศูนย์กลางมีความกดอากาศต่ำ เท่ากับ 996 ความเร็วสูงสุดที่ศูนย์กลางเท่ากับ 85 น๊อต/ชม.หรือ 157 กม./ชม.ส่วนวางนอกสุดมีความกดอากาศ 1010 เคลื่อนขึ้นฝั่งไปทางเหนือ ด้วยความเร็ว 13 น๊อต/ชม. หรือ 24 กม./ชม. เมื่อนำแผนที่ทางอากาศทาบกับแผนที่จริง จะพบว่าขนาดของพายุหมุนกว้างประมาณ 1500 กม. ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก สำหรับการแบ่งประเภทของพายุ เป็น พายุไต้ฝุ่น พายุโซนร้อน พายุดีเปรสชั้นนั้น ใช้ความเร็วลมเป็นตัวแบ่ง ได้ดังนี้
    Go to top

    การแบ่งประเภทของพายุหมุนตามความเร็วลม


  7. สำหรับการเรียกชื่อพายุนั้นขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด ถ้าเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกพายุไต้ฝุ่น (typhoon) มหาสมุุทรแอตแลนติก ทวีปอเมริกา เรียกพายุเฮอริเคน (Hurricane) ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดีย เรียกพายุไซโคลน (cyclone) ในส่วนของพายุ Hurricane แบ่งเป็นระดับตามความเร็ว ตาม Saffir–Simpson Hurricane Scale, SSHS ดังตารางด้านบน
  8. ส่่วน พายุทอร์นาโดเกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็น ซึ่งโดยปกติแล้วมักพบในทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก เนื่องจากมีความแตกต่างของสภาพอากาศสูง โดยพายุทอร์นาโดร้อยละ 90 เกิดขึ้นบนบก มีความเร็วลมสูงจนเกิดลมหมุนบิดเป็นเกลียวจากฐานเมฆลงสู่พื้นดินหรือที่เรียกกันว่า “ลมงวง” สามารถพัดพาเอาสิ่งปลูกสร้างลอยขึ้นไปในอากาศได้ เป็นพายุที่ก่อตัวรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ถึงแม้พายุทอร์นาโดเป็นพายุที่คงตัวอยู่ได้ไม่นาน (ราว 1 ถึง 2 ชั่วโมงเท่านั้น) แต่ความรุนแรงของพายุ และความไม่แน่นอนของการก่อตัว ส่งผลให้พายุทอร์นาโดเป็นพายุที่อันตรายที่สุด


  9. NASA (National Aeronautics and Space Administration) ) & NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) ใช้ดาวเทียมเพื่อถ่ายภาพพื้นโลกและมหาสมุทร โดยถ่ายภาพในตอนกลางคืนด้วยกล้อง infrared เพื่อตัดแสงรบกวนจากดวงอาทิตย์ ทำให้เห็นการก่อตัวและการเคลื่อนที่ของพายุ การทำนายเกี่ยวกับการก่อตั้งของพายุหมุนต่างๆในมหาสมุทรจึงกระทำได้ง่ายขึ้น และแม่นยำขึ้น



Go to top

สรป ลมประกอบด้วย 2 ประเภท

คือ
  1. ลมชั้นบน หรือลมที่อยู่พัดเหนือพื้นดินมากว่า 1 กิโลเมตร เนื่องจากไม่มีแรงเสียดทานจากพื้นผิวเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงพัดขนานกับเส้น Isobar ได้แก่ Geostrophic Wind ,Gradient Wind (ลมนี้ทำให้เกิดพายุหมุน) Jet Stream คือลมบนที่อยู่เหนือพื้นผิว 10-15 กม.มีความเร็วมาก การยิงจรวดติดขีปนาวุธในระยะไกล ต้องยิงให้ขึ้นไปให้สูงถึงระดับนี้เพื่อให้กระแสลมช่วยพัดไปให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นและไกลขึ้น
  2. ลมพื้นผิว ได้แก่ลมที่พัดที่ระดับความสูงจากพื่นดิน ไม่เกิน 1 กิโลเมตร เนื่องจากมีแรงเสียดทานจากพื้นผิวเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำมุมกับเส้น Isobar มากน้อยขึ้นกับความหยาบของพื้นผิวนั้น เช่นถ้าเป็นพื้นน้ำ แรงเสียดทานน้อย ถ้าเป็นป่าไม้ หรือตึกสูงในเมืองแรงเสียดทานจะมาก เป็นค้น
Go to top

จากอธิบายปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาจากแผนที่อากาศตั้งแต่ 15 กันยายน เป็นต้นไป


Go to top

ช่วงวันที่ 15 กันยายน 2562

เดือนกันยายน ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึง กลางเดือนตุลาคมของทุกปี ร่องความกดอากาศต่ำ พาดผ่านประเทศไทย ในทิศ ตะวันตก และตะวันออก บริเวณภาคกลางจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นลมที่พัดจากทะเลมาหาฝั่งจึงหอบเอาความชื้นมาด้วย ทำให้เกิดฝนตก ซึ่งช่วงนี้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องหมอกควันจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เนื่องจากเหตุผล 2 ประการคือ


  1. เป็นช่วงอากาศ ร้อน ชื้น กระแสลมแรง ทำให้ชั้นบรรยากาศามารถเคลื่อนที่ขึ้นสะดวกทั้งแนวดิ่ง เนื่องจากบรรยากาศไม่เสถียร ไม่เกิดปัญหาเรื่องอุณหภูมิผกผัน (Inversion) และกระแสลมแรงทำให้อากาศเคลื่อนที่ไปทางแนวราบได้สะดวก สามารถกระจายมลพิษจากแหล่งผลิตมลพิษออกไปได้สะดวก
  2. อิทธิพลของฝน เนื่องจากมวลสารในอากาศรวมถึงมลพิษในอากาศ จะลอยขึ้นบนไปรวมตัวกับไอน้ำบนเมฆทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จากนั้นตกลงมาเป็นฝน จึงนำมวลสารที่เดิมมีขนาดเล็กลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ตกลงมาสู่พื่นดินและน้ำ ถูกพื้นดิน และพืช รวมทั้งพื้นน้ำ Absorp มวลสารเหล่านั้นเข้าไป ฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงลดลง


Go to top

ช่วงวันที่ 20 กันยายน 2562

ร่องความกดอากาศต่ำยังพาดในแนวตะวันออก ตะวันตก ทำให้มีฝนในภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในแถบประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาะสุมาตรา และมินดาเนา อยู่ในช่วงความกดอากาศสูง ความกดอากาศสูงจะตรงข้ามกับความกดอากาศต่ำ คือแห้งแล้ง ทำให้เกิดปัญหาไฟป่าบนเกาะสุมาตรา และมินดาเนา ทำให้ควันไฟนั้นถูกพัดมายังภาคใต้ของประเทศไทย

Go to top

ช่วงวันที่ 25 กันยายน 2562

ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้เคลื่อนต่ำลงมา เกิดปรากฏการณ์หน้าหนาวหลงฤดู โดยเส้น isobar ที่พาดผ่าน กทม อยู่ในช่วง 1014-1016 (ตัวเลขคร่าว ถ้าความกดอากาศ 1015 hPa อาการเย็น ถ้า 1020 hPa อากาศหนาว ) และดันร่องความกดอากาศต่ำลงมาทางตอนใต้ ทำให้คอนเหนือ และตอนกลางของประเทศไทยอุณหุภูมิลดลง ความกดอากาศสูง (Anticyclone) คือภาวะที่อุณหภูมิต่ำ ลมสงบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรยากาศนิ่ง ไม่เคลื่อนที่ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ มวลสารในบรรยากาศรวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก สะสมอยู่ที่แหล่งกำเนิด เกิดปัญหามีฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในช่วง 25 กันยายน เป็นต้นไป
ส่วนภาคใต้ของประเทศไทย และภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาะสุมตรา และมินดาเนา มีฝนตกจากร่องความกดอากาศต่ำ ที่ถูกความกดอากาศสูงดันลงมา จึงทำให้ปัญหาหมอกควันจากไฟป่าดีขึ้น

Go to top

ช่วงวันที่ 30 กันยายน 2562

อากาศเย็นที่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางเริ่มหมดไป เส้น isobar ที่พาดผ่าน กทม. เท่ากับ 1012 แสดงว่าอากาศไม่เย็นแล้ว ส่งผลให้ ปัญหา PM 2.5 ดีขึ้น ส่วนภาคใต้ของไทยปัญหาหมอกควันจาก เกาะสุมาตราและมินดาเนา ดีขึ้นเนื่องจากมีร่งอความกดอากาศต่ำพาดผ่าน ทำให้มีฝนตก

Go to top

ช่วงวันที่ 5 ตุลาคม 2562

ความกดอากาศสูงเริ่มขยัยขึ้นบน ทำให้อุณหภูมิของประเทศไทยตอนบน และตอนกลางของประเทศสูงขึ้น การเคลื่อนที่ของบรรยากาศที่เคยหยุดนิ่งจากอากาศเย็นสามารถทำได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ทำให้สามารถกระจายฝุ่นละอองขนาดเล็กออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งได้แก่ ไอเสียจากรถยนต์ ในเขต กทม,และปริมณฑล จะเห็นได้ว่าการที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กดีขึ้น โดยที่การลดที่แหล่งกำเนิดไม่ได้ลดลง เนื่องจากอิทธิผลของความกดอากาศ ซึ่งไม่ต้องทำอะไร มันก็กลับมาดีเอง การสามารถทำนายสภาพอุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะความกดอากาศสูงได้ และเข้มงวดมาตรการทางกฎหมายเพื่อลดการปล่อยมลพิษที่แหล่งกำเนิด คือมาตรการที่ลดวิกฤตจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่ควรเป็นมาตรการเฉพาะหน้า ซึ่งต้องมีมาตรการอื่นควบคู่กัยไปด้วย โดยเฉพาะการลด PM 2.5 ที่แหล่งกำเนิด เช่น การเปลี่ยนเครื่องยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงตามาตรฐาน Euro 5/6 การลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน การลดการเผาในที่แจ้ง หรือการลดการใช้เชื้อเพลิงแข็งในครัวเรือนหรือการประกอบอาหาร เป็นต้น

Go to top

ช่วงวันที่ 10 ตุลาคม 2562

ช่วงนี้ไม่มีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้งที่ กทม.และปริมณฑล และไม่มีปัญหาไฟป่าจากที่พัดมาจากเกาะสุมตราและมินดาเนา แต่มีพายุใต้ฝุ่น hagibis ก่อตัวอยู่ในทะเล ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ความเร็วที่ศุนย์กลางเท่ากับ 105 น๊อด/ชม เทียบเท่าระดับ 3 โดยเคลื่อนที่ไปทางเหนือ

Go to top

ช่วงวันที่ 12 ตุลาคม 2562 ไต้ฝุ่น hagibis ขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น


hagibis พัฒนาจาก ดีเปรสชั่น (TD) เป็น พายุโซนร้อน (TS) ไต้ฝุ่นเทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 1 ระดับ 3 ก่อนวันที่ 7 ตค.62 เริ่มเทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ตั้งแต่วันที่ 7 ตค.62 จากนั้นเพิ่มขนาดของพายุขึ้นเรือยๆ จนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1500 กม.ซึ่งมากกว่าความยาวของประเทศไทย และระดับความเร็วที่ศูนย์กลางลดลง เป็นระดับ 4 เมื่อวันที่ 10 ตค.62 และขึ้นฝั่งที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 ตค.62 โดยความเร็วลดลงเป็นระดับ 3 เมื่อตอนขึ้นฝั่ง และออกจากประเทศญี่ปุ่น โดยอ่อนตัวเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 13 ตค.62 สำหรับแผนที่ทางอากาศ เป็นดังภาพด้านล่าง



Go to top

ผลของพายุทำให้
  1. ฝนตกหนัก ปริมาณฝนตกในช่วงที่พายุขึ้นฝั่งเทียบเท่ากับร้อยละ 40 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกในประเทศญี่ปุ่นทั้งปี ทำให้เกิดน้ำท่วม ในหลายจังหวัด
  2. พายุลมแรงทำให้บ้านเรือนเสียหาย
  3. ไฟฟ้าดับ กระทบประชาชนถึง 370,000 ครัวเรือน และอีก 14,000 ครัวเรือน ไม่มีน้ำใช้
  4. ผู้เสียชีวิตเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 74 ราย สูญหาย 14 ราย และบาดเจ็บ 210 ราย
แม้ขนาดพายุใหญ่มาก แต่การสูญเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของพายุ เนื่องจาก
  1. การเตือนภ้ยล่วงหน้าก่อนพายุขึ้นฝั่งหลายวัน โดยแนะนำให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกนอกบ้าน ปิดสนามบิน รถไฟฟ้า และให้กักตุนอาหารให้เพียงพอ เพื่อไม่ต้องออกนอกบ้าน ทำให้อาหารในศูนย์การค้าถูกซื้อหมดจนเหลือแต่ชั้นเปล่าๆ
  2. อพยพ เด็ก คนชรา ผู้พิการ หรือมีบ้านเรือนที่เสียงต่อน้ำท่วมสูงหรือดินถล่มไปยังที่ปลอดภัย
  3. ให้ชาวบ้านเสริมความแข็งแรงของ หน้าต่าง ประตูที่เป็นกระจก รวมถึงการเสริมความแข็งแรงของกระเบื้องมุงหลังคา
  4. เตรียม ทหารจำนวน 27,000 นาย และอาสาสมัคร แสนกว่าคน เพื่อเข้าช่วยกันช่วยเหลือประชาชน


Surging waves hit ahead of Hagibis' landfall CREDIT: TORU HANAI/AP

Even before the typhoon hit, strong winds brought havoc to areas such as Chiba, near Tokyo CREDIT: KATSUYA MIYAGAWA/KYODO NEWS

รัฐบาลแนะนำให้ทุกคนอยู่ในบ้าน และซื่ออาหารกักตุนไว้ที่บ้าน ทำให้อาหารเกลี้ยงศูนย์การค้า

Go to top

ช่วงวันที่ 13 ตุลาคม 2562

ไต้ฝุ่น hagibis เมื่อเคลื่อนขึ้นฝั่ง จะเจอแรงเสียดทาน ทำให้กำลังอ่อนลง เมื่อเคลื่อนออกประเทศญี่ปุ่นลงทะเล ไปทางตะวันเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน (ความเร็วลมที่ศุนย์กลางเหลือ 60 น๊อต/ชม นิยามของไต้ฝุ่นต้อง >=64 น๊อต/ชม

Go to top

ช่วงวันที่ 30 ตุลาคม 2562 - 1 พย.

วันที่ 30 ตค.62 พายุโซนร้อน Matmo อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เคลื่อนตัวไปทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 น๊อต/ชม. ความเร็วที่ศูนย์กลาง 50 น๊อต/ชั่วโมง (วิธีที่จะดูพายุหมุนคือดูที่เส่น ISO bar ตรงศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ 1000 hPa ส่วนดูความแรง ให้ดูระหว่างเส้น Isobar ถ้าระยะห่างน้อยความแรงจะสูง และดูความเร็วที่ศูนย์กลาง เพื่อแป่งประเภทของพายุหมุน เป็นไต้ผุ่น โซนร้อนรุนแรง โซนร้อน ดีเปรสชั่น) เมื่อเข้าใกล้แผ่นดินความเร็วที่ศุนย์กลางจะลดลงเนื่องจากจะถูกแรงเสียดทานบนแผ่นดิน ส่วนจะดูว่าอากาศหนาวหรือไม่ ให้ดูเส้น isobar ที่พาดผ่าน ถ้าต่ำกว่า 1012 hPa แสดงว่าความกดอากาศต่ำ ส่วนความกดอกาสสูง นั้นความกดอากาศสูง (คร่าวๆ คือ ถ้า สูงกว่า 1015 hPa อากาศเย็น สูงกว่า 1020 hPa อากาศหนาว
สำหรับวันที่ 1 พย.62 จะเห็นว่าหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ส่งผลให้ฝนตก ส่วนความกดอากาศในภาคกลาง 1012 เริ่มสูง ส่วนความเหนือ 1014 อากาศเย็นแล้ว


Go to top

ช่วงเดือน มค - กพ.63. จุด Hot spot ทั้งภายในและนอกประเทศไทย

เดือนธันวาคมของทุกปี เป็นเดือนของเก็บเกี่ยวผลผลิต การจะเตรียมหน้าดินเพื่อผลิตผลผลิตรอบใหม่ เกษตรกรทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้านใช้การเผา เพื่อประหยัดต้นทุน ทำให้เกิดมลพิษในอากาศปกคลุมไปทั่ว ประกอบกับเดือน มค. กพ. ยังอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ ส่งผลให้ลมพัดจากประเทศเพื่อนบ้านด้านตะวันออก โดยเฉพาะลาว กัมพูชา พัดเข้ามาสบทบ กับฝุ่นละอองจากการเผาภายในประเทศ (ดังภาพด้านล่าง) ร่วมกับความกดอากาศสูงในฤดูหนาว ทำให้อากาศไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวในแนวดิ่งขั้นด้านบนอย่างสะดวก และกระแสลมไม่แรง ทำให้มลพิษในอากาศหรือ PM 2.5 ไม่กระจายทั้งแนวราบและแนวดิ่ง










































































































ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม