การขันทอร์ค-ทฤษฎี (Torque-Principle) ตอนที่ 1
การขันทอร์ค-ทฤษฎี (Torque-Principle) ตอนที่ 1
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมเชื่อว่าทุกคนต้องเคยขันทอร์คไม่ก็เคยเห็นมาบ้างใช่มั้ยครับ แต่หากใครยังไม่รู้ขอเกริ่นคร่าวๆ นะครับ
แรงบิดคืออะไร?
“การขันทอร์คคือการขันหัวนัท (Stud bolt nut) หรือโบล์ท (Machine bolt) บนชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ด้วยแรงบิทที่เหมาะสม ด้วยประแจทอร์คที่มีการตั้งค่าทอร์ค หรือแรงบิดไว้ เมื่อได้ค่าก็เป็นการจบครับ” โดยแรงบิดหรือโมเม้นต์ให้ความหายเดียวกันนะครับ โดยความสัมพันธ์ หรือสูตรของเค้าคือ

ทฤษฎีการขันทอร์คและแรงเค้น (Stress)
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจหลักการง่ายๆกันก่อนนะครับ ขอยกตัวอย่างการขันทอร์คของหน้าแปลน (flange)
เมื่อเพื่อนๆขันทอร์คด้วยแรงบิดค่าๆนึง เมื่อขันเสร็จตัว Bolt จะเกิดแรงรั้งระหว่างหน้าแปลนทั้งสอง (เดิมหน้าแปลนมันห่างกันอยู่ เมื่อเราขันบีบเข้าไป มันพยายามดึงกลับตำแหน่งเดิม แต่ bolt เราดึงรั้งไว้อยู่)
ดังนั้น Bolt ตัวนี้จะเกิดแรงดึงเกิดขึ้นระหว่างหน้าแปลน ซึ่งทำให้เกิดแรงเค้นดึงภายใน หรือที่เราเรียกแรงเค้นภายใน (Tensile stress) เกิดขึ้น
ซึ่งนั้นแหละครับ จริงๆตัวที่ทำให้ Bolt ขาด ไม่ใช่เกิดจากแรงบิด แต่!!! เป็นแรงดึง

“บางทีการใส่ torque เยอะๆไม่ใช่คำตอบทำให้ Bolt ขาดเสมอไป”
ยกตัวอย่างเช่นการทาสารหล่อลื่นที่เกลียวเวลาขันเข้าก็ใช้แรงบิดนิดเดียว แต่ระยะที่บิดไปได้เยอะกว่าเดิม และเกิดแรงดึงที่เยอะกว่าเดิม!! นะครับ
ดังนั้นข้อระวังแรกนะครับ ขันทอร์คมีสารหล่อลื่น กับไม่มี ต่างกันนะครับ
ซึ่งในการขันในแต่ละอุปกรณ์หน้าแปลนจะไม่เหมือนกันนะครับ ซึ่งครั้งหน้าเราจะมาแชร์การคำนวณ factor ต่างๆในการคำนวน และ lubricate factor ต่างๆที่มีผลกับแรงดึงนะครับ
แล้วพบกับสาระดีๆทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรม ที่เพจนายช่างมาแชร์นะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
#นายช่างมาแชร์
ที่มา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น