BigBike​ Riding​ Clinique

 


⭕BigBike​ Riding​ Clinique​ #ep8
วันนี้ขออนุญาต​นำบทความที่เคยถ่ายเอกสารไว้อ่านตอนแรกๆที่เริ่มต้นหัดขี่รถ​มอเตอร์​ไซค์​มาฝากเพื่อนๆครับ.
🙏​ต้องขออภัย​จริงๆจำที่มาไม่ได้​ และไม่สามารถ​ให้เครดิต​ผู้แปลได้.
ข้อความทั้งหมดนี้เป็นข้อความผู้แปล​ สรุป​มาจากหนังสือภาษาญี่ปุ่น​
เป็นหนังสือสอนเทคนิค​การขับขี่บิ๊กไบค์​ที่เขียนโดย..
" คาชิว่า​ ฮิเดกิ " เขียนเป็นตอนๆลงนิตยสาร​ Big​ Machine​ ซึ่งออกรายเดือนและนำมารวมเล่ม.
ขอนำบทที่​ 8​ ที่เกี่ยวกับ #การเข้าโค้งที่ปลอดภัย​สำหรับ​ #ถนน​.. มานำเสนอก่อนนะครับ.
คัดลอกข้อความทั้งหมดจากเอกสารไม่ได้เขียนเพิ่มเติมนะครับ
...............................................................
⚠️ Stage 8 :
⭐ Cornering 1 : การเข้าไลน์
ไลน์ที่ถือว่าปลอดภัยที่สุดในทางปฏิบัติคือ​
เอ้าท์​ - เซนเตอร์​ - เซนเตอร์​ ‼️
การเอารถออกไปเล่นโค้งไวนดิ้งในวันท้องฟ้าแจ่มใส ใคร ๆ ก็ทำได้ไม่ว่ามือใหม่หรือมือเก่า แต่​ หากจะมาพูดกันเฉพาะเรื่องการเข้าโค้งล้วน ๆ แล้วมีอะไรที่น่าศึกษาเรียนรู้ไม่สิ้นสุด
เพราะ..
นอกจาก​ ลดความเร็ว-เบรค​ , เข้าโค้ง​ , และ​ เปิดคันเร่งออกโค้ง สามจังหวะนี้แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงพร้อม ๆ กันไปด้วย
คือ..
ไหนจะต้องคิดถึงไลน์​ , สภาพผิวถนน​ , และ​ ฟอร์มในการเข้าโค้ง ด้วย
สำหรับตอนต่อไปนี้เราจะลองมาคุยกันในเรื่องไลน์ในการเข้าโค้งเป็นอันดับแรกก่อนนะครับ
เข้าไลน์ที่เผื่อรถสวน​ และ​ สภาพผิวถนน
หลายคนคงเคยอ่านบทความเกี่ยวกับการเข้าโค้งมาแล้ว เช่น.. คำศัพท์ที่ว่า..
เอ้าท์​ - อิน​ - เอ๊าท์​ ซึ่งเป็นไลน์ หลักเลยก็ว่าได้ในการเข้าโค้งที่เสียเวลาอยู่ในโค้งน้อยที่สุด..!
และ เป็นไลน์ที่ใช้กันปรกติ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งในเซอร์กิต..!!
แต่...
⚠️จะเป็นการเสี่ยงเกินไปหากเราจะใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของถนนนั้นทั้งหมดเลย
กล่าวคือ..
เข้า​ไลน์​ เอ๊าท์-อิน-เอ๊าท์ เป๊ะๆ โดยไม่เผื่ออันตรายอันอาจเกิดจากรถที่สวนมา รวมถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจมีอยู่บนผิวถนน
ฉะนั้น.. แทนที่เราจะเข้าไลน์ดังกล่าว
เราควรเข้า​ เอ๊าท์-เซนเตอร์-เซนเตอร์ จะ
ดีกว่า..
คือ.. เข้าจากนอกแล้วตอนที่อยู่ในโค้งให้วิ่งตรงกลาง ๆ " keep center​ " ไปตลอด ตอนที่เดินคันเร่งออกโค้งก็ออกจากตรงกลาง..เช่นนี้แล้วปลายโค้งก็จะมองออกง่ายกว่า และแม้รถที่สวน มาจะกินเลนเข้ามาบ้างเราก็ยังปลอดภัย
⭐ไลน์ดังกล่าวนี้เป็นการเน้นที่ความปลอดภัยมากกว่าความเร็ว...
ตอนนี้หลายคนอาจคิดว่า.. แบบนี้ไม่ค่อยสนุก ไม่มันส์​ และ​ ไม่ตื่นเต้นเลย
แต่จริง แล้ว.. ไม่ครับ หลังจากวิ่งไลน์เอ๊าท์​ - เซนเตอร์​ - เซนเตอร์ ได้อย่างไม่เครียดไม่เกร็ง​ คือ.. วิ่งได้เคล่องแล้ว, อ่านสภาพโค้งได้ดีแล้ว จึงค่อยก้าวสู้ชั้นสูงขึ้นต่อไป และค่อย ๆ ลองเปลี่ยนวิ่งไลน์อื่น..
ไลน์​ เอ๊าท์​ - เซนเตอร์​ - เซนเตอร์​ จึงเป็นเสมือน​ #ไลน์เบสิค ที่เป็นตัวตั้งเพื่อจะพัฒนาสู่ขั้นต่อไป
หากเราเข้าไลน์ นี้ได้คล่อง ไม่เครียด ไม่เกร็งแล้วไลน์เอาท์ - อิน - เอาท์ ต่อไปย่อมเข้าได้ง่ายขึ้น
จริง ๆ แล้ว #ไม่มีไลน์ที่ต้องกำหนดตายตัว ว่าต้องเข้าแบบนั้นแบบนี้เป๊ะ ๆ แต่.. เปลี่ยนแปลงได้เสมอตามสถานการณ์..!
แต่ว่าไลน์ ไลน์เอ๊าท์ - เซนเตอร์ - เซนเตอร์ นี้เราจะเอาเป็น "ไลน์พื้นฐานหลัก" หากยังไม่คล่องไลน์นี้แต่ไปวิ่ง​ เอ๊าท์ - อิน - เอ๊าท์ เลย ก็จะเป็นการเสี่ยงอันตราย และ​ ที่สำคัญคือ.. ยากที่จะ
พัฒนาทักษะให้ดีขึ้นกว่านั้นได้...!!!
⭐
วิธีตรวจเชคตัวเอง ( self check ) เพื่อการพัฒนาทักษะสู่ขั้นต่อๆ ไป..!!
นอกจากไลน์ เอ๊าท์​-เซนเตอร์-เซนเตอร์ที่กล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้เราจะมาฝึกการเช็คตัวเอง ( self​ check ) เพื่อการเข้าโค้งได้อย่างสมูธและปลอดภัยขึ้น
✴️วิธีเชคการขับขี่ของตนเองนี้ สำคัญมากครับ
🔸ลองวิ่งโดยความเร็วคงที่บนถนนที่มีโค้งแคบ 1 โดยไม่ต้องใช้เบรคหรือใช้แต่เบรคหลังอย่างเดียว
เช่น.. ถนนที่มีความกว้าง ๔ เมตร จะมีพื้นที่ที่เราจะวิ่งได้แค่ ๒ เมตร เท่านั้น พื้นที่แคบ ๆ เพียงเท่านี้แทบจะวิ่งได้เพียง เซนเตอร์-เซนเตอร์ -เซนเตอร์ อย่างเดียว
ลองเข้าโค้งในถนนแคบนี้ โดยที่ไม่ใช้เบรคหรือใช้แต่เบรคหลังอย่างเดียว แล้วพยายามหา
" ระดับความเร็วที่ตัวเองเข้าได้โดยสบาย ๆ​ "
คือ.. ไม่เกร็ง ไม่เครียด ไม่ตื่นเต้น และไม่เสี่ยง กล่าวอีกอย่างคือ.. หาว่าตัวเองเข้าได้ที่ความเร็วแค่ไหน
ซึ่งจุดนี้แต่ละคนย่อมไม่เท่ากันความเร็ว​ และ​ ฟิลสิ่งที่หาได้นี้ เราจะเรียกว่า..
" คำความเร็วพื้นฐานของตนเอง​ "
(แปลภาษาอังกฤษประมาณว่า.. my basic​ cornering speed ละกันนะ)
ระดับค่าความเร็วนี้เราจะเอาเป็นตัวตั้งในการเช็คการเข้าโค้งของเรา ตั้งแต่บัดนี้ไป​ คือ..
เป็นความเร็วที่ผู้ขี่ขี่ได้อย่างสบาย มีสมาธิและสภาวะจิดใจไม่เครียด
อันทำให้รู้สึกได้ถึงความปลอดภัย เมื่อไม่เครียดแล้วก็ทำให้การอ่านไลน์ การจับตาดูอุปสรรคต่างๆ ขณะอยู่ในโค้ง ทำได้ดีขึ้น
รวมถึงยังรู้สึกได้ถึงกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งผ่านมา และที่สำคัญรู้สึกได้ถึงความเลื่อนไหวของแขนและสะโพก​ ว่า.. เกร็งเกินไปหรือไม่เพียงใด​ นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานของ self​steer เป็นธรรมชาติขึ้นด้วย
( ตอนผ่าน ๆ มาได้กล่าวถึงว่า self steer สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจหากอยากจะเข้าโค้งได้ดี​ )
แต่.. ในทางตรงข้าม หากเราใช้เบรคหน้ามากไปจะทำให้เกิดการเกร็งแขนจับแฮนด์เกินไป
อันทำให้การควบคุมรถไม่เป็นธรรมชาติ บาลานซ์ก็จะเสีย ทำให้รถมีโอกาสพับล้มได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เบรคหน้าไม่ต้องใช้เลย คือ.. หากว่าเราเป็นคนชอบขี่แบบปรับความเร็วโดยใช้เบรคหน้ามากเกินไป ก็จะทำให้ เกิดลักษณะที่ว่า..
" ไม่มีการเผื่อ หรือ...ไม่เหลือ​ "
เพื่อนๆ หลายคนคงเคยรู้สึกแบบนี้นะครับ
" เอ..วันนี้ขี่ไม่ค่อยดีเลย มันติด ๆ ขัด ๆ ไปหมด​ "
ทั้ง ๆ​ ที่สภาพจิตใจก็เกินร้อย
แต่.. หากเราสามารถหา
" ค่าความเร็วพื้นฐานของตนเอง​ " ได้แล้ว
เมื่อรู้สึกว่าขี่ผิดฟอร์ม ให้กลับมาหาความเร็วมาตรฐานนี้ก่อน แล้วก็ค่อย ๆ ค้นหาสาเหตุว่าทำไมรู้สึกติดขัด นี่คือ self check ครับ
เอ้า...น้อง 1 มือใหม่ 1 ที่สนใจทั้งหลาย การบ้านคือลองไปหา " #ค่าความเร็วพื้นฐานของตนเอง​ " กันนะ หาได้แล้วคราวหน้าเรามาหา " คอร์เนอริ่ง ฟอร์ม​ " หรือ " ท่าในการเข้าโค้งของตัวเอง​ " กันนะครับ
( ส่วนมือเก๋าคงไม่ต้องนะครับ เพราะลองผิดลองถูกมาเยอะแล้ว​ )
...............................................................
⭐หวังว่าจะเป็น​ประโยชน์​กับเพื่อนๆนะครับ
⚡อยากให้แชร์​กันเยอะๆจนไปถึงผู้แปลเลยครับ.. 😁
🙏​ขอบคุณ​ผู้แปลด้วยนะครับ
ส่วนตัวได้ฝึกตามคำแนะนำนี้เช่นกันครับ
...............................................................

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม