บ้านลอยน้ำ บ้านฐานลอยน้ำ ( มีแบบแปลนโครงสร้างอุปกรณ์และประมาณราคา )

 





บ้านลอยน้ำ

จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย
กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่ง
คือการให้บริการแบบบ้านเพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
รูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน

ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้
จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน
ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่


เมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง
เพื่อทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชนของกรมฯ แล้ว
ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ ?บ้านลอยน้ำ?


กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้น
โดยปรับใช้แนวคิดจาก ?บ้านลอยน้ำท่าขนอน?
และเรือนแพของชาวบ้านในอดีต นำมาประยุกต์
ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ
แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำได้
โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งสี่มุม
เพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ
และเมื่อระดับน้ำลดลงตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม

ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด
เพื่อให้เป็นการใช้วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้และทำการก่อสร้างได้ง่าย
เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย
ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง


ทัศนียภาพกลุ่มอาคาร

บ้านหลังนี้มีขนาดพื้นที่รวม
ประมาณ 60 ตารางเมตร
ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก
เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ
แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น
ก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน
โดยใช้สะพานทางเชื่อม
พาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน


สำหรับราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่า
กรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท
หากจ้างเหมาราคาประมาณหลังละ 915,000 บาท
เนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย

แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้
น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ที่ต้องอยู่อาศัยในพื้นที่ที่อาจต้องประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่อาศัยในบริเวณเที่เป็นที่ลุ่ม
โดยอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอย
ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามความต้องการที่แท้จริงของตนเองต่อไป

สนใจสอบถามไปได้ที่ 0-2299-4471-72, 0-2299-4858, 0-2299-4877
หรือเข้าชมรายละเอียดที่เว็บไซท์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง
http://subweb2.dpt.go.th/pip/floating_house/floatingH.html


ขนาดพื้นที่ ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23
ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร

ราคาค่าก่อสร้าง โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง)
ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)



รูปด้านหลัง



ด้านล่างของตัวบ้าน

 
 
วัสดุก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด
ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมัน
ขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น

ระบบสุขาภิบาล ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM
ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล

แนวคิดในการสร้างบ้านแบบที่ว่านี้
เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกเมื่อ 4,000 ปีก่อน
ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล
และชายคนหนึ่งชื่อโนอาก็สามารถรอดชีวิตได้
เนื่องจากเขาได้ต่อเรือไว้รับมือกับเหตุการณ์นี้
และใช้ชีวิตอยู่อาศัยบนเรือลำนี้เป็นระยะเวลานาน
จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่
ซึ่งก็เหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นกับโลกเราในปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว ซึนามิ และอุทกภัยอย่างรุนแรง


อย่างที่เห็นล่าสุดก็คือ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุด
ในรอบ 60 ปีของประเทศอังกฤษ
ที่ส่งผลให้ประชากรกว่า 30,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย
และทำให้บริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องจ่ายค่าชดเชย
ไปกว่า 6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ


นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ฝนตกหนัก
โคลนถล่มที่ประเทศอินเดีย เนปาล และบังกลาเทศ
ที่คร่าชีวิตผู้คนและทำให้คนไร้ที่อยู่เป็นจำนวนมาก


ที่สำคัญได้มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ทำนายไปในทิศทางเดียวกันว่า
ในอนาคตข้างหน้านี้ โลกของเรานั้นจะมีปริมาณน้ำที่มากขึ้น
ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้น้ำไหลเข้าท่วม
บริเวณที่อยู่อาศัยของคนเป็นบริเวณกว้าง
จึงทำให้มีคนเกิดแนวคิดที่จะสร้างบ้านที่สามารถลอยตัวบนน้ำได้
เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น



บ้านใน Maasbommel อยู่ห่างจาก Amsterdam ราว 60 ไมล์
สร้างด้วยโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้

แนวคิดการสร้างบ้านแบบใหม่นี้จะต่างจากบ้านแบบธรรมดา
ตรงที่การออกแบบและวัสดุที่ใช้จะค่อนข้างยืดหยุ่นและลอยตัวได้
เมื่อน้ำท่วมหรือน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงถึง 5 เมตร
ซึ่งบริษัทที่คิดค้นได้มีการพัฒนาแบบบ้านมาสองแบบ


โดยแบบแรกคือบ้านที่ปกติก็ลอยตัวอยู่บนน้ำเลยเหมือนเรือ
และแบบที่สองที่ในสภาวะปกติก็ทรงตัวบนผืนแผ่นดินธรรมดาเหมือนทั่วๆไป
แต่ถ้าเกิดกรณีน้ำท่วมขึ้นมา ตัวบ้านก็จะสามารถลอยตัวขึ้นเหนือน้ำเหมือนเรือ


ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการสร้างจะใช้กล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมกลวงมาทำเป็นฐาน
เพื่อทำให้บ้านลอยตัวได้บนน้ำ และใช้เสาเหล็กกล้าเป็นโครงสร้างหลัก
และเสริมความมั่นคงของตัวบ้าน

ส่วนของสาธารณูปโภค เช่น น้ำและไฟนั้น
จะมีการส่งผ่านท่อที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมาก
ต่อกระแสน้ำที่จะมาปะทะอีกด้วย


และในส่วนที่เหลือต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ภายในบ้าน
หรือแบบบ้านนั้นก็คล้ายกับบ้านปกติโดยทั่วไป
เช่น ต้องการที่จะมีระเบียงบ้านยื่นออกไป
หรือต้องการติดบานพับหน้าต่าง
และทาสีต่างๆ


ซึ่งบ้านแบบใหม่ที่ว่านี้นอกจากจะออกแบบและสร้างไว้
เพื่อรับมือกับน้ำท่วมแล้ว บ้านแบบนี้ก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


โดยแนวคิดนี้ ได้ใช้เวลาในการพัฒนาและค้นคว้ามากว่าสามปี
โดยบริษัททางวิศวกรรมสถาปัตยกรรมชั้นนำในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ชื่อว่า Dutch architectural form Factor Architecten
ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นมาจากว่าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น
พื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศมีระดับอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
จึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่เสมอ
ทางบริษัทจึงคืดหาทางแก้ไข

ซึ่งทางแก้นี้ดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
สำหรับประชากรในประเทศ และทั่วโลกอีกด้วย
 
 
ที่มาเว็บไซท์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง

http://subweb2.dpt.go.th/pip/floating_house/floatingH.html
 

https://www.youtube.com/watch?v=9HaDB396LVo

https://www.youtube.com/watch?v=oacdHI83DNI

https://www.youtube.com/watch?v=fEMRIgULnc4

https://www.youtube.com/watch?v=oKzWtlZHl1s









































































































ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม