สอนอ่านแผนที่อากาศอย่างง่ายๆ

 

สอนอ่านแผนที่อากาศอย่างง่ายๆ


เชื่อว่าเกือบทุกท่านคงเคยดูข่าวพยากรณ์อากาศและคงได้ยินคำว่า "แผนที่อากาศ"
แต่เชื่อว่าร้อยละ 90 น่าจะไม่เข้าใจความหมาย และไม่เข้าใจวิธีการอ่านแผนที่อากาศ
วันนี้ผมจะมาแนะนำการอ่านแผนที่อากาศอย่างง่ายๆนะครับ
แต่เนื่องจากผมไม่มีหนังสือหรือตำราที่เป็นคู่มือ ถ้าผมนึกขึ้นได้ส่วนไหนจะลงรายละเอียดในส่วนนั้นก่อนนะครับ
และจะลงรายละเอียดในแต่ละเรื่องไว้ในคอมเม้น หากสงสัยก็สอบถามได้เลยครับ
หากตอบได้ผมก็จะตอบหากตอบไม่ได้รอผู้รู้ท่านต่อไปครับ

มาดูความหมายของแผนที่อากาศกันก่อนครับ
แผนที่อากาศคือ แผนที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งอุณหภูมิ ลักษณะเมฆ ลม และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากเครือข่ายสถานีตรวจอากาศผิวพื้นทั้งหลาย รวบรวมแล้วเขียนขึ้นเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศที่จะเกิดขึ้น ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ ได้แก่
L หย่อมความกดอากาศต่ำ เป็นบริเวณที่อากาศร้อนยกตัวทำให้เกิดเมฆ
H บริเวณความกดอากาศสูง เป็นบริเวณที่อากาศเย็นแห้งแล้ว ฟ้าใส ไม่มีเมฆปกคลุม
ลองเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศนะครับ เพื่อจะได้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น



ต่อมาเป็น เส้นไอโซบาร์ (Isobar)
ซึ่งเป็นเส้นโค้งที่ลากเชื่อมต่อบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน มีตัวเลขแสดงค่าความกดอากาศซึ่งมีหน่วยเป็น เฮคโตปาสคาล (hPa) กำกับไว้
คำว่า Iso แปลว่าเท่ากัน bar คือความกดอากาศ เมื่อนำมารวมกันกันจึงแปลว่าเส้นความกดอากาศเท่าครับ
ในทางอุตุนิยมวิทยามีอีกหลาย iso นะครับเช่น
ไอโซบาร์ isobar  คือ เส้นความกดอากาศเท่า (เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน)
ไอโซเทอร์ม isotherm คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีอุณหภูมิเท่ากัน
ไอโซไฮท์ isohyet คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนท่ากัน
และ isobar นี่นอกจากจะบอกบริเวณความกดอากาศในจุดนั้นๆได้ ยังสามารถบอกสิ่งอื่นได้อีก คือ ลม
เพราะลมกดเกิดจากความกดอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
โดยลมจะพัดจากบริเวณความกดอากาศสูงไปบริเวณความกดอากาศต่ำ
ยิ่ง บริเวณที่มี isobar ติดๆกัน บริเวณนั้นจะมีลมแรงครับ


แก้ไขข้อความเมื่อ 

ต่อมาเป็นเรื่องของแนวปะทะอากาศ ซึ่งในแผนที่นี้แสดงไว้ 4 ประเภท คือ


cold front , warm front , stationary front , occluded front

หากอยากรู้ข้อมูลในส่วนของแนวปะทะอากาศเพิ่มเติม ดูที่ลิ้งนี้ครับ อธิบายไว้ค่อนข้างดี
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ 


ต่อมาเป็นสัญลักษณ์ของพายุในระดับความรุนแรงต่างๆ โดยวัดจากความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางนะครับ

            1. พายุดีเปรสชั่น (DEPRESSION) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
            2. พายุโซนร้อน (TROPICAL STORM) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
            3. ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน (TYPHOON OR HURRICANE) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง
            ตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)


หลายๆท่านคิดว่าจบแล้ว แต่ยังไม่จบนะครับ
คราวนี้จะเริ่มลงรายละเอียดให้ลึกยิ่งขึ้น
เมื่อซูมเข้าไปในตัวเลขเล็กๆ บริเวณกรุงเทพจะพบตัวเลข และสัญลักษณ์แปลกๆดังนี้

รูปนี้ไม่ตรงกับรูปด้านบนนะครับ เนื่องจากรูปด้านบนไม่ชัด


และนี่คือความหมายของ ตัวเลขต่างๆในรูป


ซึ่งหาก นำมาแปลข้อมูลอากาศกรุงเทพจะได้ความหมายดังนี้

มีอุณหภูมิ 26 องศา
ลมสงบ
มีหมอกน้ำค้าง
อุณหภูมิจุดน้ำค้าง 24 องศา
ทัศนวิสัย 1.5 กิโลเมตร
มีเมฆชั้นต่ำคือ เมฆคิวมูลัส ความสูงฐานเมฆประมาณ 600-1000 เมตร
เมฆชั้นกลางคืออัลโตคิวมูลัส
เมฆชั้นสูงคือเซอร์รัส
มีจำนวนเมฆ 6ใน 10 ส่วน
ความกดอากาศ 1011.1 hPa ความกดอากาศสูงขึ้นจาก 3 ชั่วโมงก่อน 0.6 hPa

คร่าวๆขอจบเพียงเท่านี้ครับ
แต่เชื่อว่าหลายคนไม่เข้าใจ และอยากรู้ละเอียดมากขึ้น ถ้าสงสัยจุดไหน สอบถามได้ที่กระทู้นี้เลยครับ
หากทราบข้อมูลยินดีตอบครับ



ขอขอบคุณข้อมูลที่มา 



































































































ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม